Database / Apidae / Apis (Apis) cerana


ผึ้งโพรง (Asian Honey bees)
Apis (Apis) cerana Fabricius, 1793

All images are from GBIF dataset: Database and digitization of bees in Thailand. (licensed under http://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0/)

See Gallery

ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน
Order: Hymenoptera
Family: Apidae
Tribe: Apini
Genus: Apis
Subgenus: Apis
Specific epithet: cerana
Authorship: Fabricius, 1793
Scientific Name: Apis (Apis) cerana Fabricius, 1793


ข้อมูลเบื้องต้น : ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่สร้างรังในพื้นที่ปิด (cavity-nesting bees) ทั้งโพรงไม้ โพรงหินหรือดิน แม้กระทั่งตามอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ รังที่สร้างจะเป็นรวงที่มีหลายชั้นเรียงกัน โดยทั่วไปจะมีขนาดรวงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 30 เซนติเมตร ทั่วไปแล้วผึ้งโพรงจะมีความดุร้ายมากกว่าผึ้งพันธุ์

ลักษณะเด่น : เช่นเดียวกับผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรงเป็นผึ้งสกุล Apis ที่มีขนาดกลาง ใหญ่กว่าผึ้งมิ้มแต่เล็กกว่าผึ้งหลวง มีขนาดตัวยาวราว 0.9 เซนติเมตร โดยทั่วไปจึงมีขนาดเล็กกว่าผึ้งพันธุ์เล็กน้อย มีลักษณะเด่นคือมีปีกคู่หน้าใส ปีกคู่หลังมีเส้น Distal abscissa ปรากฏต่อจากปลายเส้น vein M ส่วน scutellum มีสีน้ำตาลเหลืองหรือดำ โครงสร้างเหล็กในมีส่วนของ stylet ที่มีหนามยื่นออกจำนวน 4–5 คู่ เพศผู้จะไม่มีขนขึ้นหนาแน่นบริเวณ tarsi ของขากลางและขาหลัง ผึ้งโพรงมีการแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น

Apis cerana cerana หรือผึ้งสายพันธุ์จีน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีสีอ่อน
Apis cerana japonica หรือผึ้งสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีขนาดเล็กกว่าผึ้งจีนและมีสีเข้มกว่า
Apis cerana indica หรือผึ้งสายพันธุ์ไทยหรืออินเดีย ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดและมีสีเข้ม

รหัสพันธุกรรม : -

การกระจายพันธุ์ : ผึ้งโพรงสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย และมีการกระจายเกือบทั่วทุกประเทศในทวีปเอเชีย ยกเว้นบริเวณฝั่งซ้ายของตะวันออกกลาง รวมถึงบริเวณที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นอย่างประเทศจีนตอนบนและประเทศรัสเซียโดยส่วนใหญ่ รวมถึงมีการแพร่กระจายข้ามไปยังทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย

เอกสารอ้างอิง :
สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ, สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์. 2555. ชีววิทยาของผึ้ง พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Engel, M. S. 2001. The honey bees of Thailand (Hymenoptera: Apidae). Natural History Bulletin of the Siam Society 49(1): 113 –116.
Jayasvasti, S. & S. Wongsiri. 1993. Scanning electron microscopy analysis of honey bee - stings of six species (Apis florea, Apis dorsata, Apis cerana, Apis koschevnikovi, Apis florea, and Apis andreniformis). Honeybee Science 14: 105–109.
Koetz, A.H. 2013. Ecology, behaviour, and control of Apis cerana with a focus on relevance to the Australian incursion. Insects 4: 558–592.


ผู้เขียนบทความ : P. Nalinrachatakan (2021)

แผนที่แสดงพิกัดของตัวอย่างผึ้งในฐานข้อมูล :